Engineering Knowledge By Mr.Easy EP10

Engineering Knowledge by Mr.Easy EP10

รอยต่อของโครงสร้างเหล็กแบบสลักเกลียว (Bolting Connections)

งานก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสําเร็จรูปจะประกอบชิ้นส่วนด้วยการเชื่อมในโรงงาน ที่ชิ้นส่วนโครงสร้างนี้ต้องมีขนาดมิติและนํ้าหนักเหมาะสมกับรถบรรทุกขนส่งหรือตู้ Container
ตลอดจนนํ้าหนักที่เหมาะสมสําหรับเครนที่ใช้ในการประกอบติดตั้ง ดังนั้นรอยต่อแต่ละชิ้นส่วนโครงเหล็กมีหลายวิธีดังต่อไปนี้
IYARA WANICH Engineering Knowledge By Mr.Easy EP10
IYARA WANICH Engineering Knowledge By Mr.Easy EP10
  1. การใช้หมุดยํ้า (Riveting) พบเห็นได้ที่จุดต่อโครงสร้างสะพานสมเด็จพระพุทธฯ สะพานกรุงเทพฯ
  2. การใช้สลักเกลียว (Bolting) เพื่อประกอบติดตั้งโครงสร้างเหล็กสําเร็จรูป(PEB)ที่หน้างานฯ
  3. การเชื่อม (Welding) ใช้ประกอบชิ้นส่วนในโรงงานและหน้าหน่วยงานก่อสร้างในบทความนี้ขอนําเสนอรอยต่อแบบสลักเกลียว(Bolting)ในการประกอบโครงสร้างเหล็กโดยวิธีการนี้สามารถติดตั้งง่าย รวดเร็ว มาตรฐานและปลอดภัยกว่าธีอื่น ๆ ตําแหน่งรอยต่อที่สําคัญมีดังต่อไปนี้
  4. รอยต่อระหว่าางตอมอคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาเหล็ก(RC. Pier and Steel Column)
  5. รอยต่อระหว่างเสาเหล็กและเสาเหล็ก (Steel Column and Steel Column)
  6. รอยต่อระหว่างเสาเหล็กและคานเหล็ก (Steel Column and Steel Beam)
  7. รอยต่อระหว่างคานเหล็กและคานเหล็ก (Steel Beam and Steel Beam)
  8. รอยต่อระหว่างเสาเหล็กและจันทันเหล็ก (Steel Column and Steel Rafter)
  9. รอยต่อระหว่างจันทันเหล็กกับจันทันเหล็ก(Steel Rafter and Steel Rafter)
IYARA WANICH Engineering Knowledge By Mr.Easy EP10
IYARA WANICH Engineering Knowledge By Mr.Easy EP10

อย่างไรก็ตามรอยต่อเหล่านี้ใช้ Bolt and Nut (มีหลาย Grades) มีวิธีรายละเอียดหลายรูปแบบสําหรับการรับแรงต่าง ๆ รับแรงอัด แรงดึง แรงเฉือน และแรงดัดจะมีลักษณะของรอยต่อจะมีความแตกต่างกันติดตามใน EP. ต่อ ๆไปนะครับ

CR: รอยต่อเหล็กในงานสถาปัตยกรรม (Steel Connections)

#PEB #SteelStructure #Easybuild