ระยะร่นโรงงาน โกดัง ต้องเว้นพื้นที่เท่าไหร่ ไม่เว้นจะผิดไหม ?

IYARA WANICH ระยะร่นโรงงาน โกดัง ต้องเว้นพื้นที่เท่าไหร่ ไม่เว้นจะผิดไหม ?
  • ก่อนจะก่อสร้างโรงงาน หรือโกดังสินค้า ผู้ประกอบการก็ควรจะรู้กฎหมายข้อบังคับที่เกี่ยวข้องก่อน โดยเฉพาะเรื่องระยะร่นอาคาร ว่าต้องเว้นเท่าไหร่บ้าง ทำให้ถูกต้องตามกฎ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบแล้วโดนปรับภายหลังนั่นเอง 

 

  • สาเหตุที่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการสร้างอาคาร โดยเฉพาะเรื่องระยะร่นโรงงาน โกดังนั่น ก็เพื่อความปลอดภัยในกรณีที่เกิดเหตุไฟไหม้ เป็นการป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามไปบริเวณรอบ ๆ และเข้าช่วยเหลือได้ทันนั่นเอง

อีกเรื่องสำคัญของผู้ประกอบการที่ควรรู้ก่อนจะตั้งโรงงานอุตสาหกรรมหรือโกดังเก็บสินค้าบนทำเลดี ๆ สักที่ ก็คือข้อกฎหมาย ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ควบคุมอาคารก่อสร้าง โดยเฉพาะเรื่องระยะร่นอาคารโรงงาน โกดัง เช็คให้ชัวร์ ทำให้ถูกต้องตามกฎไว้ก่อนก็จะอุ่นใจกว่า วันนี้ IYARA WANICH  จึงขอพามารู้จักกับระยะร่นโรงงาน โกดังคืออะไร ? ต้องเว้นเท่าไหร่บ้าง

ระยะร่นโรงงาน โกดัง คืออะไร ?

การเว้นระยะร่นอาคารโรงงาน

ระยะร่นอาคารโรงงาน หรือโกดัง คือ การวัดระยะพื้นที่ว่างระหว่างแนวตัวอาคารของเราจนถึงทางสาธารณะ อย่างถนน หรือสระน้ำ โดยไม่ได้สนใจแนวเขตที่ดินที่จะสร้าง ซึ่งปกติแล้วระยะร่นก็จะแตกต่างกันตามประเภทของอาคารและถนน แต่ละแบบจะวัดไม่เหมือนกันนั่นเอง

ถ้าไม่เว้นระยะร่นโรงงาน โกดัง จะผิดไหม ?

อาคารโกดัง

หากผู้ประกอบการวางแผนจะสร้างโรงงาน หรือโกดังสินค้าต่าง ๆ แต่ดันไม่ได้เช็คเรื่องการเว้นระยะร่นอาคารให้ดี ถ้าไม่ได้เว้นจะผิดไหม คำตอบคือ “ผิด” เพราะเป็นข้อบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร กฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 ข้อ 38 และ 39 

ที่จริงแล้วการกำหนดกฎไว้แบบนี้ ก็เพื่อความปลอดภัยเป็นหลัก อย่างในกรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ จะได้เป็นการป้องกันไฟลุกลามไปส่วนอื่นรอบ ๆ รวมถึงถ้าต้องการจะต่อเติม ซ่อมแซม ก็จะเหลือพื้นที่ไว้ใช้งานโดยไม่รุกล้ำไปบริเวณอื่นนั่นเอง 

หากไม่ได้เว้นระยะให้ถูกต้องตามกฎ ก็อาจจะทำให้

  • ขออนุญาตก่อสร้างจากเขตไม่ได้ 
  • ใช้งานอาคารไม่ได้
  • รับบทลงโทษหรือค่าปรับ หากก่อสร้างโดยไร้ใบอนุญาต

 

เพราะฉะนั้น ก่อนจะดำเนินการวางแผนหรือสร้างอาคารโรงงาน มาเช็คเกณฑ์ระยะร่นโรงงาน ระยะร่นโกดังกันก่อน ว่าต้องเว้นระยะเท่าไหร่บ้างถึงจะถูกต้อง เช็คลิสต์ตามนี้ได้เลย

เกณฑ์ระยะร่นโรงงาน โกดัง ต้องเว้นเท่าไหร่บ้าง

ระยะร่นโรงงาน

การสร้างโรงงาน

สำหรับเกณฑ์ระยะร่นอาคารโรงงานตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 ข้อ 39 จะแบ่งออกเป็น 3 แบบตามพื้นที่ โดยต้องนับภายในอาคาร ทุกชั้น ทุกส่วนรวมกัน 

  • พื้นที่โรงงาน 200-500 ตร.ม. ระยะร่นจากแนวเขตที่ดิน 2 ด้านอย่างน้อย 3 ม. และ 2 ด้านที่เหลืออย่างน้อย 6 ม. ส่วนผนังต้องใช้เป็นผนังทึบ ยกเว้นประตูหนีไฟ
  • พื้นที่โรงงาน 500-1,000 ตร.ม. ระยะร่นจากแนวเขตที่ดินทั้ง 4 ด้านอย่างน้อย 6 ม.
  • พื้นที่โรงงาน 1,000 ตร.ม. ขึ้นไป ระยะร่นจากแนวเขตที่ดินทั้ง 4 ด้านอย่างน้อย 10 ม.

ระยะร่นโกดัง

การเว้นระยะในการก่อสร้าง

ส่วนเกณฑ์ระยะร่นโกดัง หรือคลังเก็บสินค้า ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 ข้อ 39 จะแบ่งการเว้นระยะเป็น 2 แบบ โดยต้องนับภายในอาคาร ทุกชั้น ทุกส่วนเช่นกัน

  • พื้นที่โกดัง 100-500 ตร.ม. ระยะร่นจากแนวเขตที่ดิน 2 ด้านอย่างน้อย 3 ม. และ 2 ด้านที่เหลืออย่างน้อย 6 ม. 
  • พื้นที่โกดัง 500 ตร.ม. ขึ้นไป ระยะร่นจากแนวเขตที่ดิน 2 ด้านอย่างน้อย 10 ม. และ 2 ด้านที่เหลืออย่างน้อย 5 ม.

ระยะร่นอื่น ๆ ควรรู้

เว้นระยะในการสร้างโรงงานหรือโกดัง

ที่จริงแล้ว นอกจากระยะร่นโกดัง ระยะร่นโรงงานแล้ว ก็มีระยะร่นสำหรับปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากถนน ซึ่งเราควรรู้ก่อนจะก่อสร้างอาคารด้วย เช่น

  • แหล่งน้ำที่กว้างไม่เกิน 10 ม. เว้นระยะย่น 3 ม.ขึ้นไป
  • แหล่งน้ำที่กว้างเกิน 10 ม. เว้นระยะย่น 6 ม.ขึ้นไป
  • ทะเล ทะเลสาบ บึงน้ำ เว้นระยะย่น 12 ม.ขึ้นไป
  • อาคารโรงงาน โกดังสูงเกิน 2 ชั้น หรือ 8 ม. เว้นระยะย่น 6 ม.ขึ้นไป
  • อาคารโรงงาน โกดังสูงเกิน 3 ชั้น เว้นระยะย่น 12 ม.ขึ้นไป

สรุป

ระยะร่นโรงงานเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องระมัดระวัง ต้องวางแผนและตรวจสอบให้ดี ว่าโกดัง อาคารโรงงานที่เราอยากจะสร้าง ต้องเว้นเท่าไหร่ถึงจะถูกต้องตามกฎข้อบังคับ  ถึงแม้พื้นที่นั้นจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเราก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบตามมาภายหลังนั่นเอง

ให้ IYARA WANICH เป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจ ด้วยคอนเซ็ปต์ One-Stop Service ไม่ว่าจะเป็นบริการออกแบบและก่อสร้างตามแบบของลูกค้า เรา รับสร้างโรงงานสำเร็จรูป EASYBUILD รวมถึง รับสร้างโกดัง ที่ผลิตด้วยโครงสร้างเหล็กคุณภาพสูง แข็งแรงและทนทานตามมาตรฐานหลักวิศวกรรม พร้อมทีมงานสถาปนิกและวิศวกรมากประสบการณ์ ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เว้นระยะร่นได้ถูกต้องตามหลัก สบายใจหายห่วง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม